...
...
...
...
...
...
...
...
...
...

TGO ร่วมกับ CMU จัดสัมมนาเผยแพร่ผลสำเร็จ “การพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ EEC ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน”

เผยแพร่โดย ผู้ดูแลระบบ 14 ธ.ค. 2564

        วันที่ 31 สิงหาคม 2564 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลสำเร็จ “โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการดังกล่าว ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ รวมทั้งขยายผลไปดำเนินงานในเขตหรือนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วประเทศ พร้อมส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำและยั่งยืนภายในประเทศต่อไป โดยมี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นประธานเปิดการสัมมนา ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ จาก TGO และ CMU ร่วมบรรยายในการสัมมนาฯ ผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting และ Facebook live องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก - องค์การมหาชน

        ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ EEC ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา มีการดำเนินการต่างๆ ซึ่งเป็นผลสัมฤทธิ์แล้วดังนี้

          1. โรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ 6 แห่ง ที่มีการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในโรงงาน และทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก เกิดเป็นต้นแบบของเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ EEC (CE-EEC Model) โดยมีผลการประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นหลังจากประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งสิ้น 1,379,167 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

          2. จัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ EEC

          3. ขยายผลการสำรวจข้อมูลเทคโนโลยีของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านการใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำและนำมาวิเคราะห์ศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยในปีนี้มีการสำรวจข้อมูลจากโรงงานในพื้นที่ EEC จำนวนทั้งสิ้น 111 แห่ง

          4. พัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนใน GHG Mitigation Information Platform ได้แก่ การพัฒนาช่องทางการซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบและของเสีย การนำเข้าชุดข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ EEC

        สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชม ย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/7Jnuq7eYzG/