ข้าพเจ้ายินยอมให้ TGO ใช้ข้อมูล เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล และรับข่าวสารอื่นๆของ TGO
เผยแพร่โดย ผู้ดูแลระบบ 11 พ.ย. 2563
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เร่งขยายผลการพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในวันที่ 14 ก.ย. 2563 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลสำเร็จ โครงการขยายผลการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ณ โรงแรมพูลแมน พัทยา จี จังหวัดชลบุรี โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวสุมน สุเมธเชิงปรัชญา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเมืองและสังคมคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายยกระดับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ให้กลายเป็น “World-Class Economic Zone” รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า ประกอบกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งต้องการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอาเซียนและเวทีการค้าโลก ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตลอดจนแผนปฏิรูปประเทศด้านที่เกี่ยวข้อง
TGO ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ขึ้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 จนถึงปัจจุบัน มีโรงงานอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำต้นแบบ
รวม 60 องค์กร ในปี 2563 นี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก และ
ได้รับคัดเลือกเป็นโรงงานอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำต้นแบบ 30 องค์กร โดยมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณในครั้งนี้ด้วย ได้แก่
1. บริษัท คล็อกเนอร์ เพนทาพลาสท์ (ไทยแลนด์) จำกัด
2. บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด
3. บริษัท เคลล็อก (ประเทศไทย) จำกัด
4. บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัท ซีเท็กซ์ อินดัสตรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด
6. บริษัท ซูมิริโกะ อีสเทิร์น รับเบอร์ (ประเทศไทย)จำกัด
7. บริษัท ทีพีที ปิโตรเคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด
9. บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)
10. บริษัท ไทยโพลีคาร์บอเนต จำกัด
11. บริษัท บ๊อก เอเชีย กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
12. บริษัท เบโค ไทย จำกัด
13. บริษัท พี.เจ.ชลบุรี พาราวู้ด จำกัด
14. บริษัท มาสด้า พาวเวอร์เทรน แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
15. บริษัท โมเดอร์น ไดสตัฟส์ แอนด์ พิคเมนท์ส จำกัด
16. บริษัท ยามาฮ่ามอเตอร์พาร์ทแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
17. บริษัท ไลสตริทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
18. บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัท สแตนบี เอเชีย จำกัด
20. บริษัท สยาม โทเซลโล จำกัด
21. บริษัท สยามแผ่นเหล็กวิลาส จำกัด
22. บริษัท อะนาไลติคอล ซิสเต็ม เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
23. บริษัท อินโนเว็ค เอเซีย จำกัด
24. บริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด
25. บริษัท เอเซีย ฟิชเชอรี่ อินดัสตรี่ จำกัด
26. บริษัท เอ็มซีแอลเอส เอเชีย จำกัด
27. บริษัท เอส ที บี เท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี จำกัด
28. บริษัท ไอ.พี.พี. (ไทยแลนด์) จำกัด
29. บริษัท ไอซีเอส โกลบอล แฟบริเคชั่น เซอร์วิส จำกัด
30. บริษัท ไอบีซี แอลเอ็นจี จำกัด
นอกจากนี้ TGO ยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC สำรวจเทคโนโลยีในการผลิตของโรงงาน และจัดการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำให้แก่ภาคอุตสาหกรรมให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนจัดทำเกณฑ์ประเมินความพร้อมการเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ และปรับปรุง GHG Mitigation Information Platform เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการขยายผลการพัฒนาอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ EEC สนับสนุนประเทศไทยสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
..................................................