ความเป็นมา1
BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ
โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ
4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ
อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม
เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรมนอกจากนี้
ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
(Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing)
และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค
ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle)
ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)
ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) พ.ศ.2564-2569
1.สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์
2.พัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่
3.ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
4.เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
รู้จักเศรษฐกิจหมุนเวียน
ธุรกิจชั้นนำทั่วโลกมีแนวทางสร้างกระแสขยายผลเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต
โดยนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนวัตกรรมมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม
ด้วยแนวคิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีการหมุนเวียนและนำกลับมาใช้ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
โดยไม่ทำให้คุณค่าลดลง องค์กรมีแนวทางเป็นระบบในการออกแบบธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนธุรกิจที่สามารถตอบสนองวิถีชีวิตของผู้คน
สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างงานมูลค่าสูง สร้างกิจกรรมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่จำเป็นต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงตามสัดส่วนการเติบโตอย่างที่เป็นมา ธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำจะช่วยสร้างโอกาสและทางเลือกให้ผู้บริโภคให้
สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สอดคล้องกับความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม
CE กับการลดก๊าซเรือนกระจก
BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ
โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ
4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ
อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์
และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม
เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรมนอกจากนี้
ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
(Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing)
และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค
ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle)
ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)
ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ผู้ผลิตจะออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่
และสามารถนำไปรีไซเคิลได้ เพื่อลดกระสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบคาร์บอนต่ำนั้น
ผู้ผลิตต้องมองลึกไปถึงกลยุทธ์ในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศในทุก ๆ ขั้นตอน
ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต จัดส่งถึงมือผู้บริโภค ไปจนถึงการจัดการกับขยะเหลือทิ้ง เพราะนั่นเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก
ของภาวะเรือนกระจก ที่นำไปสู่ปัญหาภาวะโลกร้อนในระยะยาว